ปากพูน : ความท้าทาย Vs ความพร้อมสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ สร้างเศรษฐกิจ รายได้ชุมชน ในยุควิถีชีวิตใหม่

ปากพูน : ความท้าทาย Vs ความพร้อมสู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ สร้างเศรษฐกิจ รายได้ชุมชน ในยุควิถีชีวิตใหม่ (New Normal)

วันนี้ ( 8 ส.ค.64 ) เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมเทศบาลปากพูน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชจัดโครงการสัมมนาออนไลน์ เสนอโครงการวิจัยการยกระดับการเรียนรู้ของประชาชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านพื้นที่การเรียนรู้ด้วยกลไกความร่วมมือระดับเมือง ภายใต้ฐานทรัพยากรชีวภาพและอัตลักษณ์วัฒนธรรม ยกระดับเมืองปากพูน ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกับ พัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เทศบาลเมืองปากพูน ผู้นำท้องถิ่น เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต.ปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
– แนะนำโครงการ ทีมวิจัย (ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร บพท. ผอ.สวพ. ผศ.ดร. สมรักษ์ รอดเจริญ ผอ.แผนโครงการวิจัย ผศ.ดร. ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าววีระพงศ์/ดร.ธัชชา สามพิมพ์ /หน.คก.วิจัย 5 ชุด)
– กล่าวทักทาย/กรอบการวิจัย Learning City (รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการบริหารการพัฒนาพื้นที่ บพท.)
– กล่าวต้อนรับและหารือ โดย นายธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ นายกเทศมนตรีเมืองปากพูน และคณะ แนะนำ (Local Study, Local Product, learning space, Learnig Service, ทรัพยากรธรรมชาติ/วัฒนธรรม ต้นทุนเดิม ต. ปากพูน
– เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน (บ้านสวนมะพร้าวพ่อเชื่อง)
– กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ต.ปากพูน (ผู้ใหญ่กระจาย ชวาสิทธิ์)
– แนวทางการจัดทำตลาดชุมชน/ตลาดออนไลน์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจ รายได้ชุมชนปากพูน โดย นายจตุพล ศรีดำ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช
– ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม รองประธานคนที่ 1 คณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นฯ สภาผู้แทนราษฎร

นายธนาวุฒิ ถาวรพราหมณ์ นายกเทศมนตรีเมืองปากพูน กล่าวสรุปว่า การขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้สู่ความยั่งยืนนั้น ผ่านความร่วมมือของภาคีเครือข่ายความรู้ โดยใช้กลไกหลายๆ กลไก เข้ามาช่วยอีกมากมายในการขับเคลื่อน เพื่อการพัฒนาเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งปราชญ์ชาวบ้านที่มีอยู่แล้วมาผสมผสานเข้าด้วยกัน รู้รับปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ เพื่อให้ชาวบ้านมีความรู้ มีรายได้ อิ่มท้อง และมีความสุขมากที่สุด.