วันนี้ (14 ธ.ค.64) ณ ห้องประชุม 3820 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และ ระบบ ZOOM Cloud Meeting พิธีเปิดกิจกรรม “U2T NSTRU Innovation Day” มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ร่วมกับ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.) จัดกิจกรรม “U2T NSTRU Innovation Day” ประกวดและแสดงนวัตกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่น ยกระดับเศรษฐกิจ สังคมท้องถิ่น 30 ตำบล ในโครงการยกระดับเศรษฐกิจสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( U2T มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) โดยมี รองศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรืองเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประธานเปิดงาน ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชิต สุขทร รองอธิการบดี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และดร.สมปอง รักษาธรรม รองอธิการบดี ฝ่ายยุทธศาสตร์การวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กล่าวรายงาน ซึ่งมี ท่านรองอธิการบดี คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณบดี ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยอธิการบดี คณะผู้บริหาร ท่านคณาจารย์ผู้รับผิดชอบประจำตำบล และนักจัดการทางสังคมในโครงการ U2T อว. มรภ.นครศรีธรรมราช ร่วมกิจกรรมอย่างพร้อมเพียงกัน
ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง กล่าวว่า ในวันนี้ ผมทราบดีว่าจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมีความเหมาะสมของสภาพดินฟ้าอากาศ มีความหลากหลายทางชีวภาพประกอบกัน ทำให้ผลิตผลทางการเกษตรของจังหวัดนครศรีธรรมราชมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และเกิดผลิตผลทางการเกษตรที่หลากหลาย ประกอบกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชาวนครฯ สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น แต่เพราะเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนว่างงาน และบัณฑิตจบใหม่ไม่สามารถ หางานทำได้ รวมถึงนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา จึงเกิดนโยบาย ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2563 เห็นชอบให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยสำนักงานประปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดำเนินโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในประเด็นต่าง ๆ มีนโยบายในการส่งเสริมและปรับเปลี่ยนมหาวิทยาลัยของรัฐ เพื่อสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมแก่ชุมชนท้องถิ่นที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ โครงการนี้จึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการปรับเปลี่ยนบทบาทของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Area Based University) มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมีมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็น System Integrator เพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจนและกระทรวงก็ให้ความสำคัญ มาอย่างต่อเนื่องจนใกล้สิ้นโครงการระยะที่ 1
ยิ่งเมื่อได้ทราบว่า โครงการนี้ก่อเกิดการจ้างงานที่ตอบสนองต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่เกิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ที่มีความครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ตามปัญหาและความต้องการของชุมชน โดยก่อเกิดผลผลิตนวัตกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่น 169 ผลิตภัณฑ์ และยกระดับเศรษฐกิจ สังคมท้องถิ่น 30 ตำบล จ้างงานกว่า 749 อัตรา ยิ่งตอกย้ำให้เห็นว่าการจัดโครงการนี้มาใช้ในการแก้ไขปัญหา หรือพัฒนากระบวนการสำหรับประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง สามารถทำได้จริงและผลเป็นที่น่าพอใจ จนทำให้เกิดการดำเนินการ “กิจกรรมประกวดและแสดงนวัตกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่น ยกระดับเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่น 30 ตำบล”
ท้ายที่สุดนี้ ผมขอแสดงความยินดีกับนักจัดการสังคม ในโครงการ U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ในพื้นที่ 30 ตำบล ที่ได้ประโยชน์จากการจัดโครงการนี้โดยตรง ขอบคุณมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator) รายตำบล จำนวน 30 ตำบล ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดตรัง โดยนำงานวิจัยและกระบวนการ องค์ความรู้ที่สามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้านลงสู่พื้นที่และได้ประโยชน์โดยตรงกับประชาชนในพื้นที่ ขอบคุณจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ให้การสนับสนุนการจัดโครงการนี้ เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ สังคม ชุชนท้องถิ่น และสุดท้ายขอบคุณทุกท่านที่เปิดใจและให้ความร่วมมือในการนำความรู้ที่ได้จากการจัดโครงการมาใช้ จนวันนี้ท่านก็ได้เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้น
ผมหวังว่าโครงการยกระดับเศรษฐกิจสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T มหาวิทยาลัย สู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) สามารถให้ประโยชน์แก่ชุมชนท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช และ จังหวัดตรัง ขอให้ผลผลิตและนวัตกรรมสำคัญจากโครงการนี้ สามารถยกระดับเศรษฐกิจสังคมท้องถิ่น 30 ตำบล เป็นที่ต้องการและรู้จักของผู้บริโภค และสามารถต่อยอดเพิ่มรายได้ให้กับชาวนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
ภายใต้โครงการดังกล่าว โดยกิจกรรมในวันนี้มีทีมผู้สมัครเข้าร่วมการข่งขัน จำนวน 29 ทีม จาก 30 ตำบล รางวัลต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นกว่า 10,000 บาท และของรางวัลอีกมากมาย (โดยการ Random) ผ่านการชมเชียร์ ผ่านเวบเพจ เฟสบุ๊กมหาวิทยาลัย กิจกรรมในวันนี้มีผู้เข้าร่วม ทั้ง ออนไลน์ และ ออนไซด์ ภาคีเครือข่าย มหาวิทยาลัย ภาคใต้ และ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน กลุ่มเครือข่ายธุรกิจตลาดออนไลน์ กว่า 800 คน