ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช รับการตรวจเยี่ยมความคืบหน้าการขับเคลื่อนโครงการ U2T for BCG จากผู้บริหาร กระทรวง อว.


วันนี้ (5 ก.ย.65) ณ ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลบางจาก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช คณะผู้ช่วยปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิจัย วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้ติดตามเยี่ยมชมความคืบหน้าการการขับเคลื่อน “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลัง โควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) โดย ดร.สมปอง รักษาธรรม รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้กล่าวรายงานความคืบหน้าการดำเนินโครงการ คุณวันนีย์ นนท์ศิริ ผู้ช่วยปลัดปลัดกระทรวงการ (อว.) ซึ่งเป็นประธานในการติดตาม เยี่ยมชมโครงการ U2T for BCG และ คณะกรรมการโครงการของกระทรวง อว. นอกจากนี้ยังมีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักจัดการทางสังคมตำบลต่างๆ ประชาชน รวมทั้ง สื่อมวลชนในพื้นที่ร่วมให้การต้อนรับ

จากการที่รัฐบาลโดยกระทรวง อว. ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ดำเนินการโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏได้ดำเนินการเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) โครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (U2T สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง ใน 30 ตำบล ซึ่งเป็นการจ้างงานผู้ว่างงานจำวนวน 600 คน และพัฒนาตำบลในมติต่างๆ 30 ตำบล เป็นระยะเวลา 11 เดือน ด้วยงบประมาณ ทั้งสิ้นรวม 104 ล้านบาท ซึ่งแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยและทำการรายงานผลการดำเนินการและสรุปผลการถอดบทเรียนความสำเร็จของโครงการไปยังกระทรวง อว.

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ร่วมกับ กระทรวง อว. กำลังดำเนินการ ภายใต้โครงการ U2T for BCG ในเฟสที่ 2 (ระยะเวลา 3 เดือน ก.ค.-ก.ย. 2565) จำนวน 93 ตำบล จำนวนการจ้างงานจำนวน 875 คน เป็นภาคบัณฑิตจบใหม่ไม่เกิน 5 ปี และภาคประชาชนผู้ว่างงานในตำบล ประกอบด้วย จังหวัดนครศรีธรรมราช 63 ตำบล, ตรัง 27 ตำบล, และ กระบี่ 3 ตำบล ด้วยงบประมาณ 32 ล้านบาทเศษ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานรากของคนในชุมชน ในพื้นที่ 3 จังหวัดดังกล่าว เป็นการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาไปขับเคลื่อนทั้งในภาคการผลิต และบริการในระดับพื้นที่ เกิดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพิ่ม และรักษาระดับการจ้างงาน และเป็นการพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) พร้อมจะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ (BCG)

ปัจจุบันอยู่ในช่วงดำเนินการในเดือนที่ 2 มีจำนวนโครงการ 239 โครงการ ใน 93 ตำบล ซึ่งอยู่ในช่วงการดำเนินการพัฒนาและจัดส่งผลการพัฒนา (C-03 และ C-04) พร้อมยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนตามหลักเกณฑ์ ที่ อว.กำหนดในระดับ A และ B สู่ระบบ University as Marketplaces ของกระทรวงอย่างน้อย 100 รายการ และได้ทำการจัดเก็บข้อมูล Big Data ชุมชน หรือ Thailand Community Big Data (TCB) ขณะนี้ทั้งหมดเป็นจำนวน 22,147 Record และอยู่ในระหว่างการจัดเก็บเพิ่มเติมจนสิ้นเดือน กันยายน 2565

ทั้งนี้ในวันที่ 11 สิงหาคม ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการทำบันทึกข้อตกลง MOU กับทั้ง 93 ตำบล ดำเนินการโครงการดังกล่าวพร้อมกับความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ตามทิศทางวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ตามจุดเน้นและเป้าหมายของการเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ตามประกาศกระทรวง และ นโยบายของสภามหาวิทยาลัย พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย และ แผนพลิกโฉม Reinventing มหาวิทยาลัยที่มุ่งเป็น Smart University เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สู่สากล มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในการร่วมกันกับทุกภาคส่วนภาคีในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นต่อไป.