พ่อค้า – แม่ค้ายิ้มแก้มปริ! เงินหมื่นรัฐบาลทำยอดขายสูงขึ้นเท่าตัว

พ่อค้า – แม่ค้ายิ้มแก้มปริ! เงินหมื่นรัฐบาลทำยอดขายสูงขึ้นเท่าตัว

วันที่ 29 ก.ย.67 ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่หลาด ( ตลาด ) ชุมทางทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีประชาชนแลนักท่องเที่ยวจำนวนมาก แห่ซื้อสิ้นค้น อาหาร พืชผัก รวมทั้งร่วมกิจกรรมขอหลาดชุดทางทุ่งสง ซึ่งจัดโดยงานวิจัยมหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้โครงการวิจัย ” การพัฒนาเมืองแห่งทุนวัฒนธรรมที่ยังยืน และเครือข่ายย่านวัฒนธรรมชุมชน ” ที่ได้รับทุนอุดหนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นพื้นที่ (บพท.) กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยกำหนดจัดหลาดชุมทางทุ่งสงในทุกวันอาทิตย์ โดยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 300 แล้ว แต่ยังมีประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก

ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ กล่าวว่า ความสำเร็จของการเปิดหลาดชุมทางทุ่งสง เริ่มครั้งแรกเดือนมกราคม ปี 2561 ซึ่งหลาดชุมทางทุ่งสง ไม่ได้เป็นเพียงตลาดที่ขายสินค้าและบริการ แต่เป็นทุนวัฒนธรรมตามวิถีหลาดชุมทางแห่งเมืองของทุ่งสงที่เปิดเป็นประจำทุกสัปดาห์ และยังเป็นสัญลักษณ์ของพลังแห่งทุนทางวัฒนธรรมที่สามารถส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอย่างยั่งยืน ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยตลาดแห่งนี้สามารถสร้างรายได้กว่า 100 ล้านบาท 300 นัด จากสินค้าที่มีรากฐานจากวัฒนธรรมท้องถิ่น ต้นแบบการใช้บรรจุภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการลดใช้โฟม สำหรับหลาดชุมทางทุ่งสงแห่งนี้ มีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย ทั้งจำหน่ายสินค้าทุนวัฒนธรรม และของดีท้องถิ่นกว่า 250 ร้าน อาทิเช่น สินค้าหัตถกรรม อาหารพื้นบ้าน ผลไม้พื้นถิ่น และของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนทุ่งสง รวมทั้งการแสดงพื้นบ้าน ศิลปะการแสดงของภาคใต้ การแสดงแฟชั่นโชว์จากผ้า และเครื่องประดับที่ผลิตจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมผสานภายใต้ชื่อ ” แพรพรรณ พัสตราลวดลายผ้าหลาดชุมทาง ”


ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับหลาดชุมทางทุ่งสง วันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่านมา มีประชาชนเดินทางมาซื้อสิ้นค้ากันอย่างคึกคัก ส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่ได้รับเงิน 10,000 บาท หรือกลุ่มเปราะบาง เดินทางมาเลือกซื้อสิ้นค้า อาหาร พืชผัก กันอย่างคึกคักเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หากเทียบกับหลาดชุมทางทุ่งสงนัดก่อนหน้านี้ เนื่องจากมีประชาชนกลุ่มเปราะบางที่ได้เงิน 10,000 รัฐบาล โดยเฉพะพ่อค้าขายผักปลอดสารพิษรายหนึ่ง ให้ข้อมูลว่า ปกติหลาดนักชุมทางทุ่งสง ตนนำพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษหลายชนิดที่ปลูกเอง รวมทั้งของชาวบ้านที่ฝากขาย โดยแต่ละนัดพืชผักไม่พอขาย ส่วนรายได้ประมาณ 10,000 บาทต่อวัน ส่วนตัวอยากให้รัฐบาล มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกับประชาชนกลุ่มรากหญ้าแบบนี้บ่อยขึ้น เพราะถือเป็นกำลังซื้อหลักของร้านค้าชุมชนแบบตน